บริเวณที่พบ : หอประชุมวัฒโนทัยพายัพ
ชื่ออื่น : กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร), ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้), พวงพร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ต้น
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด ค่อนข้างโปร่ง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้น
เป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไขเปลือกสีขาวมีน้ำยางสีขาว อมเทา หรือสีเทาอ่อน มีรูระบายอากาศทั่วไป
ใบ : ใบเดี่ยวเวียนสลับกันตามปลายกิ่ง แผ่นใบ รูปไข่แกมรูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว
ดอก : สีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม
ผล : ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก ฝักเมื่อแก่แตกบิดเป็นเกลียว เมล็ดเล็กมีพู่สีขาวปลิวได้
ประโยชน์ : ไม้ใช้กระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน และเครื่องใช้เบา ๆ ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้ตีนเป็ด
รากใช้ผสมยา บำรุงร่างกาย บำรุงกำหนัด

|
|
7-50100-001-053 |
|
|
|
ชื่อพื้นเมือง |
: ทุ้งฟ้า |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
: Alstonia macrophyllr WALL. Ex G. don |
ชื่อวงศ์ |
: APOCYNACEAE |
ชื่อสามัญ |
: - |
ประโยชน์ |
: เปลือกต้นใช้แก้ไข้ แก้บิด ทาบาดแผล
รากใช้บำรุงกำลัง |
สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้ ทุ้งฟ้า รหัสพรรณไม้ 7-50100-001-053